แผนปฏิบัติราช 4 ปี 2561 – 2564

แผนปฏิบัติราช 4 ปี 2561 – 2564

แผนการปฏิบัติราชการ ๔ ปี

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕6๔

 

องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ

อำเภอภูหลวง   จังหวัดเลย

 

คำนำ

องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ เป็นส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 โดยจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2539 สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย มีบทบาทภารกิจในการพัฒนาท้องถิ่น เช่น การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น การบริหารงานบุคคล การเงิน การคลัง และการบริหารจัดการเพื่อให้ท้องถิ่น มีความเข้มแข็งและมีศักยภาพในการให้บริการสาธารณะตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิได้มุ่งมั่นให้มีชุมชนมีความเข้มแข็งและได้รับบริการสาธารณะอย่างทั่วถึง และประชาชนมีความพึงพอใจ ควบคู่กับการพัฒนาองค์กรให้มีศักยภาพ และมุ่งประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันพัฒนาการบริหารจัดการที่ดี ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ขององค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ ที่ว่า “บ้านเมืองน่าอยู่ เชิดชูคุณธรรม นำการศึกษา พัฒนาคุณภาพชีวิต พิชิตความยากจน ประชาชนมีส่วนร่วม”

เพื่อให้บุคลากรทุกคนร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนแผนการปฏิบัติราชการท้องถิ่น พ.ศ. 2559 – 2562 ตามนโยบายกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีความชัดเจน องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ จึงได้จัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ขึ้น โดยได้รับความร่วมมือจากผู้บริหาร ข้าราชการในสังกัด และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ผ่านกระบวนการระดมความคิดเห็น จึงขอขอบคุณทุกท่านมา ณ โอกาสนี้

องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ฉบับนี้ จะเป็นเครื่องมือในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ ให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้อันเป็นการตอบสนองนโยบายของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ ที่มุ่งหมายให้มีการบริหารงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนในตำบลแก่งศรีภูมิต่อไป

 

 

 

องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ

 

สารบัญ

 

เรื่อง                                                                                         หน้า

วิสัยทัศน์และพันธกิจ                                                                           1

ค่านิยมองค์กร                                                                             2

ยุทธศาสตร์ที่ 1

การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการของท้องถิ่น           3

ยุทธศาสตร์ที่ 2

การปฏิบัติราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์                                                        5

ยุทธศาสตร์ที่ 3

พัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชน                                    7

ยุทธศาสตร์ที่ 4

สร้างความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ                                                    9

ภาคผนวก

 

 

 

แผนปฏิบัติราชการองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 25๖๑ – 256๔

******************************************

วิสัยทัศน์ ( Vision )

      “บ้านเมืองน่าอยู่ เชิดชูคุณธรรม นำการศึกษา พัฒนาคุณภาพชีวิต พิชิตความยากจน ประชาชนมีส่วนร่วม”

      ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการบริหาร             จัดการท้องถิ่น

      ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การปฏิบัติราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์

      ยุทธศาสตร์ที่ 3 : พัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชน

ยุทธศาสตร์ที่ 4 : สร้างความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ

พันธกิจ ( Mission)

  1. การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ตามนโยบายของรัฐบาล และตามเป้าหมายยุทธศาสตร์

ของจังหวัดเลย

  1. ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาในด้านการส่งเสริมอาชีพ และความเข้มแข้งของชุมชน

ให้สามารถพึ่งตนเองได้

  1. การสร้างระบบการบริหารจัดการที่ดี โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ในการวางแผนพัฒนา และการตรวจสอบเพื่อให้เกิดความโปร่งใส
  2. ส่งเสริมและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคม และสาธารณูปโภค
  3. การพัฒนาเทคโนโลยี สารสนเทศ เพื่อการบริการ แลหะการบริหารให้เกิดความรวดเร็ว ฉับไว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  4. ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
  5. การพัฒนาส่งเสริมการศึกษา ทั้งในระบบ และนอกระบบ ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ความเป็นเลิศ
  6. ส่งเสริม และประสานการพัฒนาร่วมกับองค์กรภาครัฐ และภาคเอกชน โดยเน้น

ที่ประชาชนในท้องถิ่นเป็นจุดศูนย์กลาง

  1. บูรณาการด้านการบริการสู่ประชาชนเพื่อให้เกิดความพึงพอใจของประชาชนใน

ท้องถิ่นและชุมชน

  1. ส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชนให้ดำรงชีพอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

 

 

 

ค่านิยมองค์กร

            TEAMWINS

      T = Teamwork  การทำงานเป็นทีม หมายถึง บุคลากรมีความสามัคคี ประสานงานกันทำงานเพื่อองค์กร มีการระดมความคิดในการแก้ปัญหาร่วมกัน พัฒนางานร่วมกัน มีลักษณะเป็นหนึ่งเดียวในด้านการบริหารจัดการ การปฏิบัติงาน และด้านกฎหมายมีทีมงานที่สามารถนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้พัฒนาการทำงานขององค์กร ชักชวนให้คนในองค์กรช่วยกันขับเคลื่อนให้เกิดการปฏิบัติจริง เพื่อการทำงานที่นำไปสู่เป้าประสงค์ขององค์กร

E = Equality of Work  ความเสมอภาคในการทำงาน หมายถึง ผู้บริหารให้ความสำคัญในการปฏิบัติงานของบุคลากรทุกคน โดยให้ความเสมอภาคและความเป็นธรรม สร้างขวัญกำลังใจที่ดีให้กับปฏิบัติงาน

A = Accountability  ความรับผิดชอบ หมายถึง บุคลากรมีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายและงานที่ต้องมีส่วนร่วมต่างๆ ปฏิบัติด้วยความตั้งใจอย่างเต็มความสามารถ บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย ตระหนักในความรับผิดชอบ พร้อมที่จะให้ตรวจสอบ สามารถอธิบายถึงพฤติกรรมการกระทำของตนเองหรือหน่วยงานได้ รวมถึงความรับผิดชอบในผลการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายได้

M = Morality and Integrity  การมีศีลธรรมและมีความซื่อสัตย์ หมายถึง บุคลากรปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และถูกต้อง เพื่อนำพาองค์กรให้เป็นที่น่าเชื่อถือ และก้าวไปข้างหน้าอย่างภาคภูมิ

W = Willingness  ความมุ่งมั่นตั้งใจทำงานอย่างเต็มศักยภาพ หมายถึง บุคลากรปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเต็มใจ เต็มความรู้ เต็มความสามารถ และเต็มเวลา เพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จขององค์กร

I = Improvement  การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ หมายถึง บุคลากรมุ่งมั่นแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองอยู่เสมอ พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และพัฒนางานในหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพ

N = Network and Communication  การเป็นเครือข่ายที่มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน หมายถึง บุคลากรยิ้มแย้มต่อกันและกัน กล่าวคำทักทายซึ่งกันและกันเมื่อพบหน้ากันทุกครั้ง มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ บุคลากรให้ความร่วมมือแก่คนในองค์กรที่มาติดต่อเป็นอย่างดี รวมทั้งการนำข่าวสารใหม่ๆ ดีๆ มาเผยแพร่เล่าสู่กันฟัง มีการจัดให้มีการพบปะสังสรรค์ระหว่างบุคลากรในองค์กร ตลอดทั้งยิ้มแย้มแจ่มใส่ต่อผู้มาใช้บริการ

S = Service Mind  การมีจิตมุ่งบริการ หมายถึง บุคลากรให้บริการแก่ทุกคนที่มาติดต่อด้วยความตั้งใจ ยิ้มแย้มแจ่มใส มีใจในการให้บริการด้วยกัลยาณมิตร มีการประสานสัมพันธ์กันในองค์กร พร้อมใจบริการเพื่อความพึงพอใจผู้ใช้บริการ

 

 

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการของท้องถิ่น

 

เป้าประสงค์  :  หน่วยงานมีกลไกในการสร้างเครือข่ายและสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน

 

ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย

ปี 25๖๑

ปี 256๒

ปี 256๓

ปี 256๔

หน่วยงานมีการวางมาตรการหรือกิจกรรมที่เป็นการสร้างเครือข่ายหรือมีการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
หน่วยงานนำปัญหาและความต้องการของประชาชนที่มาจากการประชาคมหมู่บ้านหรือแผนชุมชน มาบรรจุไว้ในแผนพัฒนาสามปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75
ความพึงพอใจของประชาชนในด้านความโปร่งใสของหน่วยงาน

ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70

การทักท้วงด้านการตั้งงบประมาณ การพัสดุการเบิกจ่ายเงิน และด้านบัญชี จากหน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบ

ไม่มีการทักท้วง

กลยุทธ์หลัก

  1. กระตุ้นและเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการพัฒนาท้องถิ่น
  2. สร้างเครือข่ายการพัฒนาท้องถิ่นในรูปแบบต่างๆ
  3. ผลัดดัน ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการตรวจสอบภาคประชาชน (People’s Audit) เช่น ส่งเสริมให้มีคณะกรรมการภาคประชาชน (Lay Board) เปิดเผยข้อมูลการปฏิบัติราชการให้ประชาชนได้รับรู้และตรวจสอบได้ เป็นต้น
  4. นำปัญหาและความต้องการของประชาชนมากำหนดเป็นภารกิจและแผนดำเนินงาน เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์ หรือเกิดผลต่อการพัฒนาชีวิต ความเป็นอยู่ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืน
  5. เสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติราชการให้กับบุคลากร ตามแนวทางในการประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณข้าราชการที่กำหนด
  6. สร้างกลไกในการรับเรื่องร้องเรียนต่างๆ จากประชาชน

โครงการ/กิจกรรมที่รองรับยุทธศาสตร์

  1. กิจกรรมการประชุมประชาคม และส่งเสริมกระบวนการแผนชุมชน เพื่อรับฟังความคิดเห็น นำปัญหา และความต้องการ/ข้อเสนอแนะจากชุมชน/หมู่บ้าน มาวิเคราะห์และบรรจุไว้ในแผนพัฒนาท้องถิ่น
  2. แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นและคณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น มาจากภาคประชาชน
  3. แต่งตั้งคณะกรรมการเปิดซองสอบราคา/ประกวดราคา, คณะกรรมการตรวจงานจ้าง/ตรวจรับพัสดุ มาจากภาคประชาชน
  4. โครงการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพ คณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน และกลุ่มองค์กรต่างๆ ในเขต อบต.แก่งศรีภูมิ
  5. โครงการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนเศรษฐกิจชุมชน ในกลุ่มอาชีพต่างๆ กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มสตรีแม่บ้าน
  6. โครงการสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่มองค์กร/พลังมวลชนต่างๆ เช่น อาสาสมัครเกษตรตำบลแก่งศรีภูมิ อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน อาสาสมัครสาธารณสุข กลุ่มสตรีแม่บ้าน กลุ่มชมรมผู้สูงอายุ เป็นต้น
  7. โครงการส่งเสริมสนับสนุนศูนย์การเรียนรู้ต่างๆ เช่น ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจชุมชนเชิงคุณธรรม ศูนย์การเรียนรู้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงตำบลแก่งศรีภูมิ
  8. โครงการสร้างเครือข่ายภาคประชาชนในการแจ้งเบาะแส เฝ้าระวังการทุจริตและประพฤติมิชอบ
  9. ประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมประชาธิปไตยและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

10. ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร แผนการดำเนินงาน แผนยุทธศาสตร์ แผนพัฒนา งบประมาณรายจ่าย ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง รายงานผลการปฏิบัติงาน ให้ประชาชนได้รับทราบอย่างสม่ำเสมอ

 

 

 

 

 

 

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การปฏิบัติราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์

 

เป้าประสงค์  :  การปฏิบัติงานตามภารกิจของหน่วยงานเกิดผลสัมฤทธิ์

 

ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย

ปี 25๖๑

ปี 256๒

ปี 256๓

ปี 256๔

– หน่วยงานปฏิบัติงานตามภารกิจหรือแผนการดำเนินงานที่ได้กำหนดไว้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85
– เกณฑ์การประเมินผลการดำเนินงานการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ (Core team) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
– เกณฑ์การดำเนินการตามข้อตกลงการปฏิบัติราชการ ระหว่างพนักงานส่วนตำบลกับผู้บริหาร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

กลยุทธ์หลัก

  1. ส่งเสริมการบริหารจัดการตามหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
  2. ศึกษา วิจัย และติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ โดยวัดจากผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome) ว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่
  3. พัฒนาระบบคุณภาพมาตรฐานการทำงานของบุคลากร โดยกระตุ้น เร่งเร้าให้บุคลากรปฏิบัติงานนำเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (Good Governance Award) มาใช้กับหน่วยงาน
  4. พัฒนากลไกและระบบการดำเนินการตามข้อตกลงการปฏิบัติราชการ ระหว่างพนักงานส่วนตำบลกับผู้บริหาร ให้สามารถวัดผลได้ทั้งในระดับองค์กรและระดับบุคคล
  5. ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการปรับปรุงระบบตรวจสอบและประเมินผลให้มีความเข้มแข็ง
  6. พัฒนาศักยภาพของหน่วยงาน ให้สามารถตอบสนองต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น
  7. พัฒนาระบบการบริหารจัดการงบประมาณ การเงิน การคลัง ของหน่วยงาน
  8. พัฒนาสมรรถนะบุคลากร ให้สามารถปฏิบัติงานได้ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

โครงการ/กิจกรรมที่รองรับยุทธศาสตร์

1.  โครงการประเภทที่สามารถยกระดับการทำงานขององค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ เช่น การพัฒนาคุณภาพบริหารจัดการ (PMQA) เกณฑ์ตัวชี้วัดการปฏิบัติราชการ (KPI : Balance Score card) เป็นต้น

2. โครงการเสริมสร้างศักยภาพประสิทธิภาพของบุคลากรให้มีขีดความสามารถและมาตรฐานการทำงานให้อยู่ในระดับสูงขึ้น เช่น การฝึกอบรมตามตำแหน่ง การอบรมคอมพิวเตอร์ฯ เป็นต้น

3.    ติดตามประเมินผลการดำเนินงานด้านต่าง ๆ เช่น ตรวจติดตามการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการมาตรฐานฯ (Core team) และด้านการเงินการคลังฯ โดยสำนักงานท้องถิ่นจังหวัด ตรวจติดตามการปฏิบัติตามระบบควบคุมภายใน โดยสำนักงานท้องถิ่นอำเภอตรวจติดตามการบริหารของผู้บริหาร โดยผู้ตรวจราชการกรมฯ เป็นต้น

4.    โครงการจัดการความรู้ (KM) ขององค์กร

5.    โครงการที่อบรมการวิเคราะห์กำหนดกลุ่มงาน (Job Family) และสมรรถนะประจำตำแหน่ง การจัดคนสงสู่ตำแหน่ง การจัดทำแผนอัตรากำลัง การบริหารงานบุคคล เป็นต้น

5.    โครงการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร เช่น พัฒนาสมรรถนะในแต่ละตำแหน่งให้มีศักยภาพสูง พัฒนาผู้บริหาร เสริมสร้างขีดความสามารถของสำนัก/ส่วนในการแก้ไขปัญหาสังคม และการให้บริการประชาชน เป็นต้น

6.    โครงการที่ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน เช่น ประเมินระบบการควบคุมภายในตามมาตรฐาน คตง. การปฏิบัติงานตามภารกิจถ่านโอนฯ การใช้ประโยชน์จากมาตรฐานการบริการสาธารณะ เป็นต้น

7.    โครงการที่พัฒนาการบริหารจัดการระบบงบประมาณ เช่น ติดตามผลการจัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน ความพยายามในการจัดเก็บภาษี ประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ ระบบสารสนเทศการบริหารจัดการเพื่อการวางแผนติดตามและประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณ เป็นต้น

8. โครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น อบรมความรู้กฎหมาย ระเบียบใหม่ อบรมพัฒนาศักยภาพให้กับพนักงานส่วนตำบล ลูกจ้าง และพนักงานจ้าง เสริมสร้างศักยภาพการบริหารจัดการด้านสาธารณสุข พัฒนาศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดบริการดูแลผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสฯ โดยชุมชน

 

 

 

 

ยุทธศาสตร์ที่ 3 : พัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชน

 

เป้าประสงค์  :  ประชาชนทุกระดับมีความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการของหน่วยงาน

ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย

ปี 25๖๑

ปี 256๒

ปี 256๓

ปี 256๔

ความพึงพอใจของประชาชนในคุณภาพการให้บริการของหน่วยงาน

ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

กลยุทธ์หลัก

  1. ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เกินความจำเป็น เช่น การลดระยะเวลาในการพิจารณา การสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ หรือการปฏิบัติราชการที่มีผลโดยตรงต่อประชาชนให้เกิดความสะดวกรวดเร็วขึ้น
  2. สร้างกลไกการรับฟังความคิดเห็น และความพึงพอใจของประชาชนหรือผู้ขอรับบริการ
  3. กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานทุกกระบวนการ โดยประกาศให้ประชาชนรับทราบอย่างทั่วถึง
  4. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงาน สำหรับใช้สนับสนุนการปฏิบัติงานให้มีความทันสมัย รวดเร็ว อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. สร้างมาตรการในการเสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงาน ให้กับบุคลากรของหน่วยงาน

โครงการ/กิจกรรมที่รองรับยุทธศาสตร์

  1. โครงการปรับลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน เช่น การรับชำระภาษี การช่วยเหลือผู้ประสบภัย การจดทะเบียนพาณิชย์ การขออนุญาตก่อสร้าง เป็นต้น
  2. กระจายอำนาจการตัดสินใจในการบริหารงาน เช่น การให้รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ สามารถสั่งอนุมัติ อนุญาต และสั่งใช้ อปพร. ในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นต้น

3.    โครงการพัฒนาระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (HR Scorecard)

4.    โครงการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติราชการ

5.  โครงการพัฒนาบุคลิกภาพให้กับบุคลากร

6.  โครงการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับบุคลากรในหน่วยงาน

7.  โครงการ อบต. เคลื่อนที่

8.  โครงการให้บริการประชาชนในช่วงเวลาพักเที่ยงและวันหยุดราชการ

 

ยุทธศาสตร์ที่ 4 : สร้างความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ

 

เป้าประสงค์  :  ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุดจากภารกิจที่หน่วยงานได้ดำเนินการ และคุ้มค่ากับงบประมาณที่ลงทุน

 

ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย

ปี 25๖๑

ปี 256๒

ปี 256๓

ปี 256๔

ความคุ้มค่าของงบประมาณในการดำเนินการตามภารกิจ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
ความประหยัดพลังงานไฟฟ้า

ไม่น้อยกว่าร้อยละ 2

ไม่น้อยกว่าร้อยละ 2

ไม่น้อยกว่าร้อยละ 2

ไม่น้อยกว่าร้อยละ 2

ความประหยัดและความคุ้มค่าในการบริหารจัดการโครงการหรืองานประจำ

ไม่น้อยกว่าร้อยละ 4

ไม่น้อยกว่าร้อยละ 4

ไม่น้อยกว่าร้อยละ 4

ไม่น้อยกว่าร้อยละ 4

กลยุทธ์หลัก

  1. สร้างกลไกในการลดรายจ่าย และประเมินความคุ้มค่า โดยคำนึงถึงประเภทและสภาพของแต่ละภารกิจ ความเป็นไปได้ และประโยชน์ที่หน่วยงานและประชาชนจะได้รับ
  2. สร้างกลไกในการใช้ทรัพยากรของหน่วยงานให้คุ้มค่าและใช้งานได้ในระยะยาว

โครงการ/กิจกรรมที่รองรับยุทธศาสตร์

  1. โครงการประหยัดพลังงานในหน่วยงาน
  2. ประชุมชี้แจงสร้างจิตสำนึกให้กับบุคลากร ในการช่วยกันประหยัดพลังงาน และประหยัดงบประมาณในการดำเนินงานตามโครงการต่างๆ โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่หน่วยงานและประชาชนจะได้รับเป็นหลัก
  3. ประชุมชี้แจงปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกให้กับบุคลกร ในการใช้ทรัพยากรของหน่วยงานให้คุ้มค่า และสามารถใช้งานได้ในระยะยาว

 

 

 

 

ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ

เรื่อง  การใช้แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ.25๖๑ – 256๔)

**********************************

       ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 16 กำหนดให้ส่วนราชการจัดทำแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการนั้น โดยจัดทำเป็นแผนสี่ปี ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการได้กำหนดให้ส่วนราชการจัดทำแผนปฏิบัติราชการสี่ปี ในลักษณะของแผนก้าวหน้า จะต้องทบทวน           และจัดทำทุกปี เพื่อจะได้ตอบสนองต่อสถานการณ์และเป็นปัจจุบัน

องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ  ได้จัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว           จึงขอประกาศใช้แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ. 25๖๑ – 256๔)  ต่อไป

จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

ประกาศ ณ วันที่  1  เดือน   สิงหาคม    พ.ศ. 255๑

 

 

(นายสมหวัง  ธรรมกุล)

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ

 

คำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ

ที่   63/255๑

เรื่อง  แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ. 25๖๑ – 256๔)

—————————————————–

       ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 16 กำหนดให้ส่วนราชการจัดทำแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการนั้น โดยจัดทำเป็นแผนสี่ปี ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการได้กำหนดให้ส่วนราชการจัดทำแผนปฏิบัติราชการสี่ปี ในลักษณะของแผนก้าวหน้า จะต้องทบทวน            และจัดทำทุกปี เพื่อจะได้ตอบสนองต่อสถานการณ์และเป็นปัจจุบัน

เพื่อให้การจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ. 25๖๑ – 256๔) ขององค์การบริหารส่วนตำบล                   แก่งศรีภูมิ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ จึงแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ประกอบด้วย

1.นายสมหวัง  ธรรมกุล            นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ ประธานกรรมการ

2.นายฤาเชษฐ  กองดา             ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ กรรมการ

3.นางจุฑาภักดิ์ กองฉันทะ  ผู้อำนวยการกองคลัง               กรรมการ

4.นายชาตรี  กองฉันทะ            ผู้อำนวยการกองช่าง                กรรมการ

5.นางสาวอรษา  โกงจีน           หัวหน้าสำนักงานปลัด                         กรรมการและเลขานุการ

6.น.ส.นันท์นภัส วิไลลักษณ์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน        กรรมการ/เลขานุการ

ให้คณะกรรมการฯ มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

1. วิเคราะห์ภารกิจ อำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ                   ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผน           และขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  นโยบายรัฐบาล  แผนพัฒนาจังหวัด  แผนพัฒนาตำบลและสภาพปัญหาของตำบลแก่งศรีภูมิ

2. กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ เพื่อรองรับภารกิจตามอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ ให้สามารถแก้ไขปัญหาของตำกะเปา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ