แผนปฏิบัติราช 4 ปี 2561 – 2564
แผนการปฏิบัติราชการ ๔ ปี
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕6๔
องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ
อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย
คำนำ
องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ เป็นส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 โดยจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2539 สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย มีบทบาทภารกิจในการพัฒนาท้องถิ่น เช่น การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น การบริหารงานบุคคล การเงิน การคลัง และการบริหารจัดการเพื่อให้ท้องถิ่น มีความเข้มแข็งและมีศักยภาพในการให้บริการสาธารณะตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิได้มุ่งมั่นให้มีชุมชนมีความเข้มแข็งและได้รับบริการสาธารณะอย่างทั่วถึง และประชาชนมีความพึงพอใจ ควบคู่กับการพัฒนาองค์กรให้มีศักยภาพ และมุ่งประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันพัฒนาการบริหารจัดการที่ดี ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ขององค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ ที่ว่า “บ้านเมืองน่าอยู่ เชิดชูคุณธรรม นำการศึกษา พัฒนาคุณภาพชีวิต พิชิตความยากจน ประชาชนมีส่วนร่วม”
เพื่อให้บุคลากรทุกคนร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนแผนการปฏิบัติราชการท้องถิ่น พ.ศ. 2559 – 2562 ตามนโยบายกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีความชัดเจน องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ จึงได้จัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ขึ้น โดยได้รับความร่วมมือจากผู้บริหาร ข้าราชการในสังกัด และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ผ่านกระบวนการระดมความคิดเห็น จึงขอขอบคุณทุกท่านมา ณ โอกาสนี้
องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ฉบับนี้ จะเป็นเครื่องมือในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ ให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้อันเป็นการตอบสนองนโยบายของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ ที่มุ่งหมายให้มีการบริหารงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนในตำบลแก่งศรีภูมิต่อไป
องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ
สารบัญ
เรื่อง หน้า
วิสัยทัศน์และพันธกิจ 1
ค่านิยมองค์กร 2
ยุทธศาสตร์ที่ 1
การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการของท้องถิ่น 3
ยุทธศาสตร์ที่ 2
การปฏิบัติราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ 5
ยุทธศาสตร์ที่ 3
พัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชน 7
ยุทธศาสตร์ที่ 4
สร้างความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ 9
ภาคผนวก
แผนปฏิบัติราชการองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 25๖๑ – 256๔
******************************************
วิสัยทัศน์ ( Vision )
“บ้านเมืองน่าอยู่ เชิดชูคุณธรรม นำการศึกษา พัฒนาคุณภาพชีวิต พิชิตความยากจน ประชาชนมีส่วนร่วม”
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการบริหาร จัดการท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การปฏิบัติราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : พัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชน
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : สร้างความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
พันธกิจ ( Mission)
- การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ตามนโยบายของรัฐบาล และตามเป้าหมายยุทธศาสตร์
ของจังหวัดเลย
- ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาในด้านการส่งเสริมอาชีพ และความเข้มแข้งของชุมชน
ให้สามารถพึ่งตนเองได้
- การสร้างระบบการบริหารจัดการที่ดี โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ในการวางแผนพัฒนา และการตรวจสอบเพื่อให้เกิดความโปร่งใส
- ส่งเสริมและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคม และสาธารณูปโภค
- การพัฒนาเทคโนโลยี สารสนเทศ เพื่อการบริการ แลหะการบริหารให้เกิดความรวดเร็ว ฉับไว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
- การพัฒนาส่งเสริมการศึกษา ทั้งในระบบ และนอกระบบ ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ความเป็นเลิศ
- ส่งเสริม และประสานการพัฒนาร่วมกับองค์กรภาครัฐ และภาคเอกชน โดยเน้น
ที่ประชาชนในท้องถิ่นเป็นจุดศูนย์กลาง
- บูรณาการด้านการบริการสู่ประชาชนเพื่อให้เกิดความพึงพอใจของประชาชนใน
ท้องถิ่นและชุมชน
- ส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชนให้ดำรงชีพอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
ค่านิยมองค์กร
TEAMWINS
T = Teamwork การทำงานเป็นทีม หมายถึง บุคลากรมีความสามัคคี ประสานงานกันทำงานเพื่อองค์กร มีการระดมความคิดในการแก้ปัญหาร่วมกัน พัฒนางานร่วมกัน มีลักษณะเป็นหนึ่งเดียวในด้านการบริหารจัดการ การปฏิบัติงาน และด้านกฎหมายมีทีมงานที่สามารถนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้พัฒนาการทำงานขององค์กร ชักชวนให้คนในองค์กรช่วยกันขับเคลื่อนให้เกิดการปฏิบัติจริง เพื่อการทำงานที่นำไปสู่เป้าประสงค์ขององค์กร
E = Equality of Work ความเสมอภาคในการทำงาน หมายถึง ผู้บริหารให้ความสำคัญในการปฏิบัติงานของบุคลากรทุกคน โดยให้ความเสมอภาคและความเป็นธรรม สร้างขวัญกำลังใจที่ดีให้กับปฏิบัติงาน
A = Accountability ความรับผิดชอบ หมายถึง บุคลากรมีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายและงานที่ต้องมีส่วนร่วมต่างๆ ปฏิบัติด้วยความตั้งใจอย่างเต็มความสามารถ บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย ตระหนักในความรับผิดชอบ พร้อมที่จะให้ตรวจสอบ สามารถอธิบายถึงพฤติกรรมการกระทำของตนเองหรือหน่วยงานได้ รวมถึงความรับผิดชอบในผลการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายได้
M = Morality and Integrity การมีศีลธรรมและมีความซื่อสัตย์ หมายถึง บุคลากรปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และถูกต้อง เพื่อนำพาองค์กรให้เป็นที่น่าเชื่อถือ และก้าวไปข้างหน้าอย่างภาคภูมิ
W = Willingness ความมุ่งมั่นตั้งใจทำงานอย่างเต็มศักยภาพ หมายถึง บุคลากรปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเต็มใจ เต็มความรู้ เต็มความสามารถ และเต็มเวลา เพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จขององค์กร
I = Improvement การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ หมายถึง บุคลากรมุ่งมั่นแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองอยู่เสมอ พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และพัฒนางานในหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพ
N = Network and Communication การเป็นเครือข่ายที่มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน หมายถึง บุคลากรยิ้มแย้มต่อกันและกัน กล่าวคำทักทายซึ่งกันและกันเมื่อพบหน้ากันทุกครั้ง มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ บุคลากรให้ความร่วมมือแก่คนในองค์กรที่มาติดต่อเป็นอย่างดี รวมทั้งการนำข่าวสารใหม่ๆ ดีๆ มาเผยแพร่เล่าสู่กันฟัง มีการจัดให้มีการพบปะสังสรรค์ระหว่างบุคลากรในองค์กร ตลอดทั้งยิ้มแย้มแจ่มใส่ต่อผู้มาใช้บริการ
S = Service Mind การมีจิตมุ่งบริการ หมายถึง บุคลากรให้บริการแก่ทุกคนที่มาติดต่อด้วยความตั้งใจ ยิ้มแย้มแจ่มใส มีใจในการให้บริการด้วยกัลยาณมิตร มีการประสานสัมพันธ์กันในองค์กร พร้อมใจบริการเพื่อความพึงพอใจผู้ใช้บริการ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการของท้องถิ่น
เป้าประสงค์ : หน่วยงานมีกลไกในการสร้างเครือข่ายและสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน
ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย |
ปี 25๖๑ |
ปี 256๒ |
ปี 256๓ |
ปี 256๔ |
|
หน่วยงานมีการวางมาตรการหรือกิจกรรมที่เป็นการสร้างเครือข่ายหรือมีการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม | ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 | ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 | ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 | ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 | |
หน่วยงานนำปัญหาและความต้องการของประชาชนที่มาจากการประชาคมหมู่บ้านหรือแผนชุมชน มาบรรจุไว้ในแผนพัฒนาสามปี | ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 | ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 | ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 | ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 | |
ความพึงพอใจของประชาชนในด้านความโปร่งใสของหน่วยงาน |
ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70 |
||||
การทักท้วงด้านการตั้งงบประมาณ การพัสดุการเบิกจ่ายเงิน และด้านบัญชี จากหน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบ |
ไม่มีการทักท้วง |
||||
กลยุทธ์หลัก
- กระตุ้นและเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการพัฒนาท้องถิ่น
- สร้างเครือข่ายการพัฒนาท้องถิ่นในรูปแบบต่างๆ
- ผลัดดัน ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการตรวจสอบภาคประชาชน (People’s Audit) เช่น ส่งเสริมให้มีคณะกรรมการภาคประชาชน (Lay Board) เปิดเผยข้อมูลการปฏิบัติราชการให้ประชาชนได้รับรู้และตรวจสอบได้ เป็นต้น
- นำปัญหาและความต้องการของประชาชนมากำหนดเป็นภารกิจและแผนดำเนินงาน เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์ หรือเกิดผลต่อการพัฒนาชีวิต ความเป็นอยู่ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืน
- เสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติราชการให้กับบุคลากร ตามแนวทางในการประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณข้าราชการที่กำหนด
- สร้างกลไกในการรับเรื่องร้องเรียนต่างๆ จากประชาชน
โครงการ/กิจกรรมที่รองรับยุทธศาสตร์
- กิจกรรมการประชุมประชาคม และส่งเสริมกระบวนการแผนชุมชน เพื่อรับฟังความคิดเห็น นำปัญหา และความต้องการ/ข้อเสนอแนะจากชุมชน/หมู่บ้าน มาวิเคราะห์และบรรจุไว้ในแผนพัฒนาท้องถิ่น
- แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นและคณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น มาจากภาคประชาชน
- แต่งตั้งคณะกรรมการเปิดซองสอบราคา/ประกวดราคา, คณะกรรมการตรวจงานจ้าง/ตรวจรับพัสดุ มาจากภาคประชาชน
- โครงการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพ คณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน และกลุ่มองค์กรต่างๆ ในเขต อบต.แก่งศรีภูมิ
- โครงการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนเศรษฐกิจชุมชน ในกลุ่มอาชีพต่างๆ กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มสตรีแม่บ้าน
- โครงการสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่มองค์กร/พลังมวลชนต่างๆ เช่น อาสาสมัครเกษตรตำบลแก่งศรีภูมิ อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน อาสาสมัครสาธารณสุข กลุ่มสตรีแม่บ้าน กลุ่มชมรมผู้สูงอายุ เป็นต้น
- โครงการส่งเสริมสนับสนุนศูนย์การเรียนรู้ต่างๆ เช่น ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจชุมชนเชิงคุณธรรม ศูนย์การเรียนรู้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงตำบลแก่งศรีภูมิ
- โครงการสร้างเครือข่ายภาคประชาชนในการแจ้งเบาะแส เฝ้าระวังการทุจริตและประพฤติมิชอบ
- ประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมประชาธิปไตยและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
10. ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร แผนการดำเนินงาน แผนยุทธศาสตร์ แผนพัฒนา งบประมาณรายจ่าย ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง รายงานผลการปฏิบัติงาน ให้ประชาชนได้รับทราบอย่างสม่ำเสมอ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การปฏิบัติราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์
เป้าประสงค์ : การปฏิบัติงานตามภารกิจของหน่วยงานเกิดผลสัมฤทธิ์
ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย |
ปี 25๖๑ |
ปี 256๒ |
ปี 256๓ |
ปี 256๔ |
– หน่วยงานปฏิบัติงานตามภารกิจหรือแผนการดำเนินงานที่ได้กำหนดไว้ | ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 | ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 | ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 | ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 |
– เกณฑ์การประเมินผลการดำเนินงานการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ (Core team) | ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 | ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 | ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 | ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 |
– เกณฑ์การดำเนินการตามข้อตกลงการปฏิบัติราชการ ระหว่างพนักงานส่วนตำบลกับผู้บริหาร | ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 | ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 | ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 | ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
กลยุทธ์หลัก
- ส่งเสริมการบริหารจัดการตามหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
- ศึกษา วิจัย และติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ โดยวัดจากผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome) ว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่
- พัฒนาระบบคุณภาพมาตรฐานการทำงานของบุคลากร โดยกระตุ้น เร่งเร้าให้บุคลากรปฏิบัติงานนำเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (Good Governance Award) มาใช้กับหน่วยงาน
- พัฒนากลไกและระบบการดำเนินการตามข้อตกลงการปฏิบัติราชการ ระหว่างพนักงานส่วนตำบลกับผู้บริหาร ให้สามารถวัดผลได้ทั้งในระดับองค์กรและระดับบุคคล
- ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการปรับปรุงระบบตรวจสอบและประเมินผลให้มีความเข้มแข็ง
- พัฒนาศักยภาพของหน่วยงาน ให้สามารถตอบสนองต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น
- พัฒนาระบบการบริหารจัดการงบประมาณ การเงิน การคลัง ของหน่วยงาน
- พัฒนาสมรรถนะบุคลากร ให้สามารถปฏิบัติงานได้ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
โครงการ/กิจกรรมที่รองรับยุทธศาสตร์
1. โครงการประเภทที่สามารถยกระดับการทำงานขององค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ เช่น การพัฒนาคุณภาพบริหารจัดการ (PMQA) เกณฑ์ตัวชี้วัดการปฏิบัติราชการ (KPI : Balance Score card) เป็นต้น
2. โครงการเสริมสร้างศักยภาพประสิทธิภาพของบุคลากรให้มีขีดความสามารถและมาตรฐานการทำงานให้อยู่ในระดับสูงขึ้น เช่น การฝึกอบรมตามตำแหน่ง การอบรมคอมพิวเตอร์ฯ เป็นต้น
3. ติดตามประเมินผลการดำเนินงานด้านต่าง ๆ เช่น ตรวจติดตามการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการมาตรฐานฯ (Core team) และด้านการเงินการคลังฯ โดยสำนักงานท้องถิ่นจังหวัด ตรวจติดตามการปฏิบัติตามระบบควบคุมภายใน โดยสำนักงานท้องถิ่นอำเภอตรวจติดตามการบริหารของผู้บริหาร โดยผู้ตรวจราชการกรมฯ เป็นต้น
4. โครงการจัดการความรู้ (KM) ขององค์กร
5. โครงการที่อบรมการวิเคราะห์กำหนดกลุ่มงาน (Job Family) และสมรรถนะประจำตำแหน่ง การจัดคนสงสู่ตำแหน่ง การจัดทำแผนอัตรากำลัง การบริหารงานบุคคล เป็นต้น
5. โครงการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร เช่น พัฒนาสมรรถนะในแต่ละตำแหน่งให้มีศักยภาพสูง พัฒนาผู้บริหาร เสริมสร้างขีดความสามารถของสำนัก/ส่วนในการแก้ไขปัญหาสังคม และการให้บริการประชาชน เป็นต้น
6. โครงการที่ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน เช่น ประเมินระบบการควบคุมภายในตามมาตรฐาน คตง. การปฏิบัติงานตามภารกิจถ่านโอนฯ การใช้ประโยชน์จากมาตรฐานการบริการสาธารณะ เป็นต้น
7. โครงการที่พัฒนาการบริหารจัดการระบบงบประมาณ เช่น ติดตามผลการจัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน ความพยายามในการจัดเก็บภาษี ประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ ระบบสารสนเทศการบริหารจัดการเพื่อการวางแผนติดตามและประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณ เป็นต้น
8. โครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น อบรมความรู้กฎหมาย ระเบียบใหม่ อบรมพัฒนาศักยภาพให้กับพนักงานส่วนตำบล ลูกจ้าง และพนักงานจ้าง เสริมสร้างศักยภาพการบริหารจัดการด้านสาธารณสุข พัฒนาศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดบริการดูแลผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสฯ โดยชุมชน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : พัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชน
เป้าประสงค์ : ประชาชนทุกระดับมีความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการของหน่วยงาน
ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย |
ปี 25๖๑ |
ปี 256๒ |
ปี 256๓ |
ปี 256๔ |
ความพึงพอใจของประชาชนในคุณภาพการให้บริการของหน่วยงาน |
ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 |
กลยุทธ์หลัก
- ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เกินความจำเป็น เช่น การลดระยะเวลาในการพิจารณา การสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ หรือการปฏิบัติราชการที่มีผลโดยตรงต่อประชาชนให้เกิดความสะดวกรวดเร็วขึ้น
- สร้างกลไกการรับฟังความคิดเห็น และความพึงพอใจของประชาชนหรือผู้ขอรับบริการ
- กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานทุกกระบวนการ โดยประกาศให้ประชาชนรับทราบอย่างทั่วถึง
- พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงาน สำหรับใช้สนับสนุนการปฏิบัติงานให้มีความทันสมัย รวดเร็ว อย่างมีประสิทธิภาพ
- สร้างมาตรการในการเสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงาน ให้กับบุคลากรของหน่วยงาน
โครงการ/กิจกรรมที่รองรับยุทธศาสตร์
- โครงการปรับลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน เช่น การรับชำระภาษี การช่วยเหลือผู้ประสบภัย การจดทะเบียนพาณิชย์ การขออนุญาตก่อสร้าง เป็นต้น
- กระจายอำนาจการตัดสินใจในการบริหารงาน เช่น การให้รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ สามารถสั่งอนุมัติ อนุญาต และสั่งใช้ อปพร. ในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นต้น
3. โครงการพัฒนาระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (HR Scorecard)
4. โครงการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติราชการ
5. โครงการพัฒนาบุคลิกภาพให้กับบุคลากร
6. โครงการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับบุคลากรในหน่วยงาน
7. โครงการ อบต. เคลื่อนที่
8. โครงการให้บริการประชาชนในช่วงเวลาพักเที่ยงและวันหยุดราชการ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : สร้างความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
เป้าประสงค์ : ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุดจากภารกิจที่หน่วยงานได้ดำเนินการ และคุ้มค่ากับงบประมาณที่ลงทุน
ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย |
ปี 25๖๑ |
ปี 256๒ |
ปี 256๓ |
ปี 256๔ |
ความคุ้มค่าของงบประมาณในการดำเนินการตามภารกิจ | ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 | ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 | ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 | ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 |
ความประหยัดพลังงานไฟฟ้า |
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 2 |
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 2 |
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 2 |
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 2 |
ความประหยัดและความคุ้มค่าในการบริหารจัดการโครงการหรืองานประจำ |
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 4 |
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 4 |
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 4 |
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 4 |
กลยุทธ์หลัก
- สร้างกลไกในการลดรายจ่าย และประเมินความคุ้มค่า โดยคำนึงถึงประเภทและสภาพของแต่ละภารกิจ ความเป็นไปได้ และประโยชน์ที่หน่วยงานและประชาชนจะได้รับ
- สร้างกลไกในการใช้ทรัพยากรของหน่วยงานให้คุ้มค่าและใช้งานได้ในระยะยาว
โครงการ/กิจกรรมที่รองรับยุทธศาสตร์
- โครงการประหยัดพลังงานในหน่วยงาน
- ประชุมชี้แจงสร้างจิตสำนึกให้กับบุคลากร ในการช่วยกันประหยัดพลังงาน และประหยัดงบประมาณในการดำเนินงานตามโครงการต่างๆ โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่หน่วยงานและประชาชนจะได้รับเป็นหลัก
- ประชุมชี้แจงปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกให้กับบุคลกร ในการใช้ทรัพยากรของหน่วยงานให้คุ้มค่า และสามารถใช้งานได้ในระยะยาว
ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ
เรื่อง การใช้แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ.25๖๑ – 256๔)
**********************************
ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 16 กำหนดให้ส่วนราชการจัดทำแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการนั้น โดยจัดทำเป็นแผนสี่ปี ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการได้กำหนดให้ส่วนราชการจัดทำแผนปฏิบัติราชการสี่ปี ในลักษณะของแผนก้าวหน้า จะต้องทบทวน และจัดทำทุกปี เพื่อจะได้ตอบสนองต่อสถานการณ์และเป็นปัจจุบัน
องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ ได้จัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงขอประกาศใช้แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ. 25๖๑ – 256๔) ต่อไป
จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ 1 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 255๑
(นายสมหวัง ธรรมกุล)
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ
คำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ
ที่ 63/255๑
เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ. 25๖๑ – 256๔)
—————————————————–
ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 16 กำหนดให้ส่วนราชการจัดทำแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการนั้น โดยจัดทำเป็นแผนสี่ปี ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการได้กำหนดให้ส่วนราชการจัดทำแผนปฏิบัติราชการสี่ปี ในลักษณะของแผนก้าวหน้า จะต้องทบทวน และจัดทำทุกปี เพื่อจะได้ตอบสนองต่อสถานการณ์และเป็นปัจจุบัน
เพื่อให้การจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ. 25๖๑ – 256๔) ขององค์การบริหารส่วนตำบล แก่งศรีภูมิ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ จึงแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ประกอบด้วย
1.นายสมหวัง ธรรมกุล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ ประธานกรรมการ
2.นายฤาเชษฐ กองดา ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ กรรมการ
3.นางจุฑาภักดิ์ กองฉันทะ ผู้อำนวยการกองคลัง กรรมการ
4.นายชาตรี กองฉันทะ ผู้อำนวยการกองช่าง กรรมการ
5.นางสาวอรษา โกงจีน หัวหน้าสำนักงานปลัด กรรมการและเลขานุการ
6.น.ส.นันท์นภัส วิไลลักษณ์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน กรรมการ/เลขานุการ
ให้คณะกรรมการฯ มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. วิเคราะห์ภารกิจ อำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผน และขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายรัฐบาล แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาตำบลและสภาพปัญหาของตำบลแก่งศรีภูมิ
2. กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ เพื่อรองรับภารกิจตามอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ ให้สามารถแก้ไขปัญหาของตำกะเปา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ