วิสัยทัศและการบริหาร

วิสัยทัศและการบริหาร

ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ

เรื่อง   คำแถลงนโยบายของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ

—————————————

          อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 58/5 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่5)  พ.ศ. 2546 บัญญัติไว้ว่า ก่อนนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเข้ารับหน้าที่ ให้ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแถลงนโยบายต่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบล โดยไม่มีการลงมติ ทั้งนี้ภายในสามสิบวันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และให้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลด้วย

 

          บัดนี้  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแถลงนโยบาย  ต่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ  ในการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล    สมัยวิสามัญ สมัยที่  1   ครั้งที่  1   ประจำปี  พ.ศ. ๒๕๕6  เมื่อวันที่  19  ตุลาคม 2556  ณ  ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบล ตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้

 

                  จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน

ประกาศ   ณ  วันที่  25  เดือน ตุลาคม  พ.ศ.  ๒๕๕6

 

 

(นายสมหวัง  ธรรมกุล)

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ

 

 

คำแถลงนโยบาย

ของ

นายสมหวัง  ธรรมกุล

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ

แถลงต่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ

วันที่  25  ตุลาคม 2556  เวลา  ๐๙.๐๐  น.

******************

เรียน  ประธานสภาที่เคารพ  และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิผู้ทรงเกียรติ     

         ทุกท่าน

ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง  ได้จัดให้มีการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ  เมื่อวันเสาร์  ที่  ๒5  ตุลาคม  ๒๕๕6  ผลปรากฏว่า  ข้าพเจ้า                                    นายสมหวัง  ธรรมกุล เป็นผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนให้ดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ  และบัดนี้คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศรับรองผลการเลือกตั้งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตามมติที่ประชุมของคณะกรรมการการเลือกตั้ง  ครั้งที่  ๑๒๗/๒๕๕6  เมื่อวันที่   19  ตุลาคม  ๒๕๕6

ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล  พ.ศ.  ๒๕๓๗  แก้ไขเพิ่มเติมถึง  (ฉบับที่ ๕)  พ.ศ.  ๒๕๔๖  (ฉบับที่ ๖)  พ.ศ. ๒๕๕๒  มาตรา  ๕๘/๕  “ก่อนนายกองค์การบริหารส่วนตำบล  เข้ารับหน้าที่ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแถลงนโยบายต่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบล  โดยไม่มีการลงมติ  ภายใน  ๓๐  วัน  นับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล

เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่   ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ  เป็นไปตามขั้นตอนและระเบียบแบบแผนตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  และให้เป็นไปตามกรอบอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย  ระเบียบที่ใช้ในการบริหารราชการ  ข้าพเจ้าฯ จึงขอแถลงนโยบายต่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ  โดยได้กำหนดวิสัยทัศน์และแนวนโยบาย  ภายใต้กรอบและอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล  ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล  พ.ศ.  ๒๕๓๗  แก้ไขเพิ่มเติมถึง  (ฉบับที่ ๕)  พ.ศ. ๒๕๔๖ (ฉบับที่  ๖)                 พ.ศ. ๒๕๕๒  ดังนี้

วิสัยทัศน์

ประชาชนเป็นศูนย์กลาง  บริการเป็นเลิศ  เชิดชูวัฒนธรรม น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียงนโยบาย 

๑. ส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการภาคเกษตรกรรมให้มีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนให้ผู้ประกอบการทุกระดับมีความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility-CRS) ที่ถูกต้อง นำไปสู่การเป็นอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์

๒. พัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร และสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อความพร้อมในการรองรับนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล (ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ Thailand 4.0 Super Cluster)

๓. เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกัน กำกับดูแล และเตือนภัยจากการกระบวนการผลิต อุบัติเหตุ อุบัติภัย มลพิษ ของเสีย รวมทั้งการขนส่งสินค้าจากผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม

๔. พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

๕. ส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อยกระดับการผลิต ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และผลิตภัณฑ์ชุมชน

 

“ภารกิจสำคัญที่สุด”

 

. นโยบายด้านสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน

๑.๑   มุ้งเน้นการก่อสร้าง  ปรับปรุง  บำรุงรักษา  ซ่อมแซม  ถนนสายหลักและถนนสายรอง

ให้เป็นถนนที่ได้มาตรฐาน  เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ได้ตลอดปี
๑.๒   ปรับปรุงระบบประปา  โดยมุ้งเน้นให้มีน้ำประปาที่สะอาด เพียงพอต่อความต้องการ

ของประชาชน  ทุกครัวเรือน  ปรับปรุงเพิ่มเติมระบบประปาเดิมให้ดีมีมาตรฐาน

ดำเนินการพัฒนา แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร การอุปโภคบริโภค
๑.๓   ปรับปรุงระบบไฟฟ้าสาธารณะ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน รวมถึงพัฒนา

ระบบจำหน่ายไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน

 

 

 

.  นโยบายด้านการศึกษา  วัฒนธรรม ประเพณี และนันทนาการ

๒.๑ ส่งเสริม  สนับสนุนการศึกษาในท้องถิ่นให้มี ประสิทธิภาพ คุณภาพ  สอดคล้องกับ

ความต้องการของท้องถิ่น

๒.๒ พัฒนาและปรับปรุงศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตตำบลให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี มี

คุณภาพ เพื่อเตรียมความพร้อมของเด็ก ก่อนเข้าสู่ระบบโรงเรียน

๒.๓ สนับสนุน วัสดุ อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอนเพื่อการศึกษาให้แก่ประชาชนในเขตพื้นที่
๒.๔  อนุรักษ์ ฟื้นฟู ประเพณีวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น

๒.๕  ส่งเสริม  สนับสนุนกิจกรรมนันทนาการในท้องถิ่น

๒.๖  จัดให้มีการอนุรักษ์ ส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมในรูปแบบ

ต่าง ๆ เช่น งานประเพณีวันสงกรานต์ วันลอยกระทง วันสำคัญทางศาสนา

๓. นโยบายด้านเศรษฐกิจ

๓.๑ สนับสนุน ส่งเสริมการเกษตรแบบผสมผสาน เกษตรทางเลือกและเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้แก่เกษตรกร
๓.๒ ส่งเสริมอาชีพและพัฒนาฝีมือแรงงาน และเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน โดยยึดหลัก

เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๓.๓ ส่งเสริมให้ประชาชนได้นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อเพิ่มรายได้

ให้แก่ท้องถิ่น
๓.๔ ส่งเสริมให้มีการร่วมกลุ่ม/จัดตั้งกลุ่มอาชีพต่าง ๆ แต่ละกลุ่มในเขตตำบล ร่วมกับ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษาถึงปัญหา และแนวทางแก้ไขตลอดจนกำหนด

ยุทธศาสตร์ในการดำเนินกาอย่างเป็นระบบ และสามารถสร้างเครือข่ายร่วมกับ

ตำบลอื่นได้  ต่อไป
. นโยบายด้านสาธารณสุข

๔.๑ ส่งเสริมและพัฒนาการบริหารด้านสาธารณสุข

๔.๒  ดำเนินการให้มีการประกอบการที่ถูกสุขลักษณะในสถานบริการผู้ประกอบการ

ตลาด โรงฆ่าสัตว์

๔.๓  เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์โรคระบาดที่อาจเกิดขึ้นในเขตตำบล

 

 

 

 

. นโยบายด้านชุมชนและสวัสดิการสังคม

๕.๑ ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพและการสร้างชุมชนเข้มแข็ง

๕.๒ ส่งเสริมสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์

๕.๓ ส่งเสริมให้เด็ก  เยาวชน  ประชาชน  ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
๕.๔  สนับสนุนนโยบายรัฐบาล ในการป้องกันยาเสพติด โดยจัดให้มีสนามกีฬาและจัดการ

แข่งขันกีฬาระดับหมู่บ้านและระดับตำบล เพื่อเยาวชนและประชาชนห่างไกลจาก ยาเสพติด

. นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

๖.๑ สร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ

สิ่งแวดล้อม

๖.๒ เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและบำบัดน้ำเสีย

๖.๓  ควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน

๗.  นโยบายด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย และการป้องกันสาธารณภัย

๗.๑  เสริมสร้างความสงบเรียบร้อยความปลอดภัยในชีวิตตลอดจนทรัพย์สินของ

ประชาชน

๗.๒  ส่งเสริม สนับสนุนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

๗.๓  สนับสนุนการรักษาความสงบเรียบร้อยของชุมชน

 

. นโยบายด้านการบริหาร  การปกครองและบุคลากรท้องถิ่น

๘.๑ จัดบรรยากาศที่ว่าการองค์การบริหารส่วนตำบล ให้เป็นบรรยากาศแห่งการต้อนรับประชาชนด้วย  การยิ้มแย้ม แจ่มใส เต็มใจบริการ โดยยึดหลัก “การบริการคืองานของเรา”
๘.๒ เพิ่มทักษะ ความสามารถของพนักงานและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพในการบริการประชาชน ให้รวดเร็ว เสมอภาค และเป็นธรรม
๘.๓ ปรับปรุง และพัฒนารายได้ ในด้านการจัดเก็บภาษี และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ทั่วถึงและเป็นธรรม
๘.๔ เน้นการบริหารราชการโดยเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการมากขึ้น

โดยการเสนอแนะ แสดงความคิดเห็น รวมถึงการติดตามตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน
๘.๕ เน้นการบริหารราชการโดยยึดหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี (ธรรมาภิบาล) ประกอบด้วย

หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม สำนึกรับผิดชอบ หลักความคุ้มค่า

 

 

 

 

๙.  นโยบายเร่งด่วน

  1. ปรับปรุง  ระบบประปา  โดยมุ้งเน้นให้มีน้ำประปาที่สะอาด  เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนทุกครัวเรือน  ปรับปรุงเพิ่มเติมระบบประปาเดิมให้ดีมีมาตรฐาน
  2. ปรับปรุงระบบไฟฟ้าส่องสว่าง  ทุกพื้นที่ในเขตตำบลแก่งศรีภูมิ
  3. พัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ให้สมบูรณ์แบบ  มีขีดความสามารถทัดเทียมกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอื่น ๆ
  4. ผู้สูงอายุ  ผู้พิการ  ผู้ป่วยโรคเอดส์   ผู้ยากไร้   จะได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง

จากนโยบายทั้งหมด ๙  ด้าน  ที่กระผมได้แถลงให้ท่านประธานและเพื่อนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ ได้รับทราบมาทั้งหมดนี้  จะประสบผลสัมฤทธิ์ไม่ได้เลย  ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือด้วยดี  และได้รับแรงสนับสนุน  จากท่านประธาน  และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน  ตลอดทั้งข้าราชการ/พนักงาน  และพี่น้องประชาชนชาวตำบลแก่งศรีภูมิทุกหมู่บ้าน

กระผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า  คงจะได้รับความร่วมมือด้วยดีจากทุกภาคส่วน  เพื่อให้การดำเนินการขับเคลื่อนภารกิจตามนโยบายทั้ง ๙ ด้านนี้ ซึ่งจะทำให้การดำเนินงานสำเร็จลุล่วงด้วยดี และสัมฤทธิ์ผลตามเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้  ดังคำวิสัยทัศน์ที่ว่า ” ประชาชนเป็นศูนย์กลาง  บริการเป็นเลิศ  เชิดชูวัฒนธรรม น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง ทุกประการ  ซึ่งจะส่งผลให้พี่น้องประชาชนตำบลแก่งศรีภูมิ มีคุณภาพชีวิตที่ดี  มีฐานะทางเศรษฐกิจที่มั่นคง  และมีสังคมที่ดีขึ้น  มีจิตใจที่โอบอ้อม  อารี  เอื้อเฟื้อ  เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน มีจริยธรรมและคุณธรรมมากขึ้น  และชุมชนตำบลแก่งศรีภูมิของเรา  ก็จะเป็นชุมชนตัวอย่าง  เป็นชุมชนต้นแบบให้แก่สังคมใกล้เคียงได้นำไปเป็นตัวอย่างต่อไป

และในการนี้   กระผมขอแนะนำทีมงานบริหารที่จะเข้ามาช่วยเหลืองานของกระผม   ประกอบด้วย

๑.  นายสุพล  จำปีพรม      ตำแหน่ง    รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ

๒.  นายคมสัน  พันสอน     ตำแหน่ง    รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ

๓.  นายอภิสิทธิ์  จำนงศรี   ตำแหน่ง    เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ

โดยกระผมจะแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบดังนี้

 

 

 

 

นายสุพล  จำปีพรม      รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ

รับผิดชอบ

  1. งานกิจการประปา
  2. งานด้านการศึกษา ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรมและกีฬา
  3. งานด้านสาธารณสุข
  4. งานด้านสิ่งแวดล้อม

นายคมสัน  พันสอน         ตำแหน่ง  รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ

รับผิดชอบ

  1. งานไฟฟ้าไฟฟ้า
  2. งานประชาสัมพันธ์ (เสียงตามสาย/หอกระจายข่าว)
  3. งานด้านการบริหารงานบุคคล

นายอภิสิทธิ์  จำนงศรี   ตำแหน่ง  เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ

รับผิดชอบ

  1. งานด้านกิจการ อปพร.
  2. งานการใช้รถยนต์ส่วนกลาง
  3. งานด้านสวัสดิการชุมชน
  4. งานด้านการส่งเสริมอาชีพ
  5. งานผู้สูงอายุ/ผู้พิการ/ผู้ป่วยเอดส์/ผู้ด้อยโอกาส

 

กระผม  ขอเรียนให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ  ทุกท่านทราบว่า  กระผมจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมุ่งมั่น  และตั้งใจ  ให้สมกับที่ได้รับความไว้วางใจจากพี่น้องประชาชน  ให้เข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้บริหาร  กระผมมีความมุ่งมั่นที่จะเข้ามาพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิ  ให้มีความเจริญก้าวหน้า  โดยจะดำเนินการตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิแห่งนี้  โดยจะคำนึงถึงความถูกต้อง  ความเป็นธรรม  และบริหารงานที่โปร่งใส  สามารถตรวจสอบได้  และที่สำคัญ  จะยึดเอาประโยชน์สุขและความต้องการของพี่น้องประชาชนเป็นสำคัญ

 

กระผมขอให้คำมั่นว่า  จะดำเนินการตามนโยบายที่แถลงไว้  ตามแผนพัฒนาและแผนการดำเนินการ  ที่จะได้ทำต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ  รวดเร็ว  ซื่อสัตย์  สุจริต  โปร่งใส  และกระผมเชื่อมั่นว่าจะได้รับความร่วมมือสนับสนุนจากสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งศรีภูมิผู้ทรงเกียรติทุกท่าน  ที่จะร่วมกันทำงานให้บรรลุผลสำเร็จที่พึงประสงค์  ตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ทุกประการ  เพราะเป้าประสงค์ของเราทุกคนคือ  “ประโยชน์สุขของประชาชน”

     แนวคิดในการปฏิบัติงานในตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล

 

เปิดกว้างและเชื่อมโยงกัน

  1. ยึดประชาชน

นายกองค์การบริหารส่วนตำบล   มีหน้าที่ความรับผิดชอบงานที่มีความยาก      และคุณภาพของงานสูงมาก ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีหน้าที่ ความรับผิดชอบและคุณภาพของงาน  โดยควบคุมหน่วยงานหลายหน่วยงาน  และปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำนวนมาก  ผู้ที่จะปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว  จำเป็นต้องใช้ความรู้มีทักษะความสามารถทั้งในด้านการบริหารจัดการองค์กร ทักษะการปกครองบังคับบัญชา ความรอบรู้ในระเบียบข้อกฎหมายต่างๆ  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถปรับประยุกต์ใช้องค์ความรู้ เพื่อประโยชน์แก่คนในท้องถิ่น ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนในท้องถิ่นภาย        ใต้กรอบกฎหมาย

แนวคิดในการปฏิบัติงานเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติงานตามนโยบายของแผนงานที่สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้บริหารท้องถิ่น เป็นผู้กำหนดให้สอดคล้องกับกฎหมาย นโยบายของรัฐบาล และแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ   ข้าพเจ้าจึงขอเสนอแนวคิดในการปฏิบัติเพื่อให้สอดคล้องกับบทบาทและหน้าที่  ภายใต้วิสัยทัศน์ (VISION ) “ประชาชนเป็นศูนย์กลาง  บริการเป็นเลิศ  เชิดชูวัฒนธรรม  น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง”   รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้บัญญัติให้รัฐต้องจัดให้มีแผนพัฒนาการเมือง จัดทำมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรม ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการและพนักงาน หรือลูกจ้างอื่นของรัฐ เพื่อป้องกันการทุจริตและเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ รัฐบาลจึงได้กำหนดให้หน่วยงานภาครัฐจัดทำค่านิยมสร้างสรรค์และจรรยาบรรณให้เจ้าหน้าที่ของรัฐยึดถือปฏิบัติ ซึ่งค่านิยมสร้างสรรค์ 5 ประการ  ได้แก่

  1. กล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง โดยยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม ความชอบ

ธรรม ความเสียสละ หลักวิชาและจรรยาวิชาชีพไม่โอนอ่อนตามอิทธิพล

  1. มีคุณธรรมและความรับผิดชอบปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา แยกเรื่อง

ส่วนตัวออกจากหน้าที่การงานมีการรับผิดชอบต่องานในหน้าที่ต่อผลงานองค์กร และประชาชน

  1. โปร่งใสตรวจสอบได้ปรับปรุงกลไกและวิธีการทำงานให้มีความชัดเจน

โปร่งใสสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ และพร้อมเปิดเผยข้อมูลอันไม่ต้องตามกฎหมาย

  1. ไม่เลือกปฏิบัติให้บริการโดยเสมอภาค เป็นธรรม เน้นความสะดวก รวดเร็ว

ประหยัด ด้วยความมีน้ำใจเมตา

  1. มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานโดยปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
  2. งานแล้วเสร็จตามวัถุประสงค์  เกิดผลดีต่อหน่วยงานและส่วนรวม  โดยใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าพระราชฤษฏีกาว่าด้วยวิธีบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2546  ได้กำหนดหลักการบริหารราชการที่มีคุณภาพมีคุณธรรมและจริยธรรม มีการพัฒนาที่ยั่งยืนสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก มีผลใช้บังคับกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยนั้น

ประกอบด้วยหลัก 6  ประการคือ

  1. หลักนิติธรรม ได้แก่ การตรากฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ให้ทันสมัย

และเป็นที่ยอมรับของสังคม ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ข้อบังคับโดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมาย มิใช้ตามอำเภอใจหรืออำนาจของตัวบุคคล

  1. หลักคุณธรรม ได้แก่ การส่งเสริมคนดีคนเก่ง การยึดมั่นในความ

ถูกต้องดีงาม เจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นตัวอย่างแก่สังคม และส่งเริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตัวเองไปพร้อมกันเพื่อให้คนไทยมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพสุจริต

  1. หลักความโปร่งใส ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของ

คนในชาติปรับปรุงการทำงานให้มีความโปร่งใส  เปิดเผยข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างตรงไปตรงมา ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวกและมีขบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกชัดเจนได้

  1. หลักการมีส่วนร่วม ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม

รับรู้ และเสมอความเห็นในการตัดสินใจปัญหาสำคัญของประเทศ

  1. หลักความรับผิดชอบ ได้แก่ การตระหนักในสิทธิหน้าที่ความสำนึก

ในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะ และการกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา เคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง และความกล้าที่จะยอมรับผลจากการกระทำของตน

  1. หลักความคุ้มค่า ได้แก่ การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มี

จำกัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม ประหยัด ใช้อย่างคุ้มค่า ดำรงชีวิตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และรักษาพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมให้สมบูรณ์

 

 

 

 

 

จากแนวความคิดดังกล่าวข้างต้น สามารถนำมาสังเคราะห์ลักษณะร่วม

เป็นกรอบความคิดและคำจำกัดความ ได้แก่ การบริหารงานเพื่อประโยชน์ต่อท้องถิ่นของนักบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบล  คือ การบริหารงานที่มุ่งบรรลุเป้าหมายโดยคำนึงถึงมิติต่อไปนี้

  1. การคำนึงถึงประสิทธิภาพและปประสิทธิผล หมายถึง

บริหารงานอย่างมีระเบียบแบบแผน การทำงานเป็นทีม การนำความทันสมัยมาใช้ในงาน การสร้างขวัญและกำลังใจให้กับผู้ร่วมงาน และความมุ่งมั่นในความสำเร็จ

  1. ความรับผิดชอบต่อสังคม หมายถึงความรู้สึกเป็นเจ้าของ

ร่วมกัน การตระหนักถึงปัญหาของสังคม ความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหา และการมีเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจน

  1. การตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น หมายถึง

การตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นอย่างเท่าเทียมกัน การให้ความสำคัญกับประชาชนส่วนน้อย และการแก้ไขปัญหาโดยคำนึงถึงสภาพที่แท้จริงของท้องถิ่น

  1. การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารงาน หมายถึงการ

ยอมรับความแตกต่างทางความคิด การรับฟังความเห็นของประชาชน การเปิดเผยข้อมูล และการยอมรับการตรวจสอบจากผู้เกี่ยวข้อง

  1. ความซื่อสัตย์ เป็นธรรม โปร่งใส หมายถึง การบริหารงาน

อย่างถูกต้องตามกฎหมาย การไม่ทุจริต การยึดถือหลักคุณธรรม และความโปร่งใสในการบริหารงาน

  1. ความมีจริยธรรมและเคารพกฎหมาย หมายถึง การปฏิบัติตน

ภายในกรอบของกฎหมายและจริยธรรมเพื่อเป็นตัวอย่างที่ของสังคม

 

2.  แนวทางพัฒนางานในหน้าที่

 

จากแนวคิดการปฏิบัติงานที่ได้นำเสนอในตอนแรกไปแล้ว แนวทางการพัฒนางานในหน้าที่นั้น  จะเน้นการบริหารงานโดยใช้การบริหารกิจการบ้านเมือง และสังคมที่ดี      (Good Governance) หรือ การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล  เพื่อให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีการทำงานที่โปร่งใสมากขึ้น การทุจริตประพฤติมิชอบกระทำได้ยากมากยิ่งขึ้น ทำให้การทำงานใดๆ เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงต่อองค์การบริหารส่วนตำบลและประชาชน ไม่เกิดการสูญเสียทรัพยากรสาธารณะ โดยไร้ประโยชน์  การทำงานขององค์การบริหารส่วนตำบลเป็นที่เชื่อถือศรัทธาของประชาชน ประชาชนได้รับการบริการที่ดีขึ้น เนื่องจากองค์การบริหาร                 ส่วนตำบลมีกลไกการทำงานที่ดี มีผู้ปฏิบัติงานที่มีคุณธรรมและความรับผิดชอบ ตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับงานบริการและส่วนรวม องค์การบริหารส่วนตำบลมีการพัฒนาแบบยั่งยืน และมีการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับกระแสการเปลี่ยนแปลงและภาวะวิกฤติต่างๆ  ที่อาจเกิดขึ้นในภายภาคหน้าได้อย่างทันสถานการณ์

แนวทางการพัฒนางานในหน้าที่  โดยใช้การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี หรือการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล นั้น  ข้าพเจ้าได้ใช้องค์ประกอบตามหลักการบริหารจัดการที่ดี เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล เพื่อติดตามประเมินผล นำไปสู่การวางกรอบแนวทางในการปฏิบัติงานและพัฒนางานในหน้าที่ ดังนี้

1. หลักนิติธรรม   ข้าพเจ้าได้มีการกำหนดแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ในแต่ละส่วนงานอย่างชัดเจนตามกฎหมาย  โดยข้าพเจ้าได้ติดตามการใช้อำนาจในแต่ละส่วนโดยให้ได้รับการตรวจสอบ,การออกระเบียบ เทศบัญญัติใดที่เกี่ยวกับการไปจำกัดสิทธิของประชาชน  ข้าพเจ้าจะให้มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน, มีการวางกำหนดขั้นตอนการให้บริการประชาชน การขอรับข้อมูลข่าวสารต่างๆ  อย่างเป็นธรรม ประชาชนได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน ,กำหนดให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อลดขั้นตอนในการทำงาน ,มีการตรวจสอบกฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศที่เป็นอุปสรรคหรือ  ก่อให้ความยุ่งยากในการปฏิบัติงาน มีการทบทวนกฎระเบียบต่าง ๆ ให้ทันสมัยและเหมาะสมอยู่เสมอ

2. หลักคุณธรรม   ข้าพเจ้าได้กำหนดวางมาตรการระบบการตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรฐานคุณธรรมจริยธรรม ,การวางมาตรการให้องค์การบริหารส่วนตำบลปลอดจากการคอรัปชั่นและปลอดจากการทำผิดวินัย โดยตรวจสอบทั้งในด้านหน้าที่การงาน,ความสัมพันธ์ส่วนบุคคล และพฤติกรรมส่วนตัว,   การพิจารณาความดีความชอบของเจ้าหน้าที่โดยยึดหลักความสามารถ  ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติตนต่อเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงาน โดยยึดหลักความเสมอภาคเท่าเทียมกัน

3. หลักความโปร่งใส   ข้าพเจ้าได้จัดวางระบบการตรวจสอบควบคุมภายในให้มีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพสูง โดยกำหนดการให้ข้อมูลในด้านโครงสร้าง ความรับผิดชอบของหน่วยงานใครทำหน้าที่อะไรในแต่ละด้าน,  ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมรับรู้การทำงานของหน่วยงาน,กำหนดกลยุทธ์ในการบริหารที่สามารถตรวจสอบการทำงานโดยบุคคลภายในและบุคคลภายนอกได้   (มีคณะกรรมการที่ปรึกษา/การติดตามประเมินผลที่มาจากภาคประชาชน) จัดวางระบบการให้คุณ    ให้โทษที่เป็นธรรม และให้รางวัลจูงใจตอบแทน

แก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพสูง, จัดหา   กลยุทธ์วางแนวทางเปิดโอกาสให้ประชาชน สื่อมวลชน และหน่วยงานพัฒนาเอกชน ได้มีโอกาสเข้าร่วมการตรวจสอบการทำงานของหน่วยงาน จัดวางระบบการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของทางราชการให้รวดเร็ว กว้างขวาง   และถูกต้อง

4. หลักการมีส่วนร่วม   ข้าพเจ้าได้วางมาตรการหาแนวทางที่จะให้ประชาชน          มีช่องทางเพิ่มขึ้นในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของหน่วยงาน, เพิ่มช่องทางการใช้สื่อในการให้ข้อมูล,  การเพิ่มช่องทางในการรับฟังความคิดเห็นจากภายนอกหน่วยงาน และนำความคิดเห็นที่รับฟังไปใช้ในการปรับปรุงการทำงาน,  ส่งเสริมให้ประชาชน เจ้าหน้าที่ภายในและภายนอกองค์กร สามารถเข้ามีส่วนร่วมรับรู้รับทราบ ร่วมเสนอปัญหา ให้ข้อคิดเห็น ร่วมปฏิบัติ  ร่วมตัดสินใจ ร่วมรับผลประโยชน์  ตลอดจนร่วมตรวจสอบติดตามประเมินผล

5. หลักการสำนึกรับผิดชอบ  ข้าพเจ้าได้ดำเนินการจัดทำบันทึกข้อตกลงการปฏิบัติราชการระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบภายในหน่วยงาน โดยมีการกำหนดภารกิจที่มอบหมายงาน การทำความเข้าใจและเห็นชอบร่วมกันกับการกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายและความคาดหวังจากการทำบันทึกข้อตกลงการปฏิบัติราชการ, จัดวางระบบการบริหารงานภายในสร้างค่านิยมให้ผู้ปฏิบัติงาน เต็มใจที่จะยอมรับสิ่งใหม่ๆ และเทคโนโลยีสมัยใหม่,จัดระบบการสื่อสารภายในให้มีการกระจายข่าวสารข้อมูลอย่างเปิดเผยโดยทั่วถึง ถูกต้องสมบูรณ์ ไม่มีการปิดเบือน,   ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม,   สร้างขวัญกำลังใจ  ยอมรับความสามารถแก่ผู้ปฏิบัติงานที่ดีเยี่ยม สร้างความศรัทธาเชื่อมั่นแก่ผู้ตั้งใจปฏิบัติงานและจัดวางมาตรการในการดำเนินการกับผู้ไม่มีผลงาน ,มีการกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานจัดทำดัชนีวัดผลการปฏิบัติงานอย่างชัดเจน

6. หลักความคุ้มค่า   ข้าพเจ้าได้จัดวางมาตรการการตรวจสอบภายในและการจัดทำรายงานการเงินเผยแพร่แก่สาธารณชนทั่วไป, ส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด,      มีการใช้เทคโนโลยีเครื่องมือต่าง ๆ ที่ทันสมัยเพื่อลดต้นทุน ลดขั้นตอนการทำงาน เพิ่มปริมาณผลผลิต, มีการกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานที่มาจากการมีส่วนร่วมกำหนดของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน